สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรงมะเร็ง


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
 
1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
 
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่องและภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น จะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี
......................................
 
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญ มี 2 ข้อ
ข้อแรก คือ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นต้น รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด
ข้อที่สอง คือ ได้แก่ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น
 

......................................
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง มีดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอด และกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุราและสูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปากและในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มี สารพิษ ชื่อ อัลฟาทอกซิล ที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารเช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง 2 อย่าง โอกาส จะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรมหรือติดเชื้อไวรัสเอดส์ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิวและส่วนไหม้เกรียม ของอาหารเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว อาทิ มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำจะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตรา ไวโอเลต จำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้
สาเหตุของมะเร็งและสิ่งแวดล้อม
เดิมเราไม่รู้มะเร็งมาจากอะไร บ้างว่า เกิดจากพันธุกรรม บ้างว่าจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ในที่นี้ จะกล่าวการเกิดโรคมะเร็งเนื่องจากสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ย้อนหลังไปในปี พ.. 2318 น.พ.Percival Pottได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เขม่าที่เกิดจากควันไฟของการเผาไหม้ถ่านหินและฟืน ที่เกาะตามผนังภายในของปล่องควันในบ้านคนอังกฤษเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังในเด็กคนงานที่มีอาชีพรับจ้างทำความสะอาด ของปล่องควันไฟ สารก่อมะเร็งที่ถูกพบในเวลาต่อมาก็คือ สารเบนโซ (เอพัยรีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มของ สารโพลีไซคลิกโรมาติกไฮโดรคาร์บอน 
สารนี้สามารถผ่านซึมเข้าเซลล์บนผิวหนังของคนงานที่ได้ทำงานเป็นประจำ การนำสารนี้ไปทาบนผิวหนังของหนูทดลองก็เกิดมะเร็งผิวหนังได้เช่นเดียวกัน เขาจึงเป็นคนแรกที่พิสูจน์ว่าโรคมะเร็งเกิดจากสารเคมีก่อมะเร็งในสิ่งแวดล้อม
ต่อมา ได้มีผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารก่อมะเร็งกับการเกิดโรคมะเร็ง (รูปภาพ) ในคนอาชีพต่าง ๆ มากขึ้น ตามตารางที่ จะเห็นว่ามีสารก่อมะเร็งหลายจำพวกที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด โดยที่พบบ่อยที่สุด คือมะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะเบาหวาน มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องหลังโพรงจมูก และมะเร็งตับ สารเคมีเหล่านั้นเป็นทั้งสารผสมและสารเดี่ยว ซึ่งได้แก่ โลหะ สี สารอินทรีย์และอินทรีย์ น้ำมัน พลาสติก คนที่มีอาชีพเหล่านั้น พึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี โดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยการทำเครื่องป้องกัน ทางจมูก ปาก และทางผิวหนังให้มากที่สุด โอกาสเสี่ยง การเกิดมะเร็งขึ้นอยู่กับความมากน้อยของการสัมผัส ปริมาณระยะเวลาที่ได้รับสารเคมีเข้าไป หรือการทำลายพิษภายในเซลล์และการขับถ่ายออกจากร่างกาย
มียารักษาโรคหลายชนิด ที่มีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งหรือทูเมอร์โปรโมเตอร์ และมีความสัมพันธุ์ในสาเหตุการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองและในผู้ใช้ยาเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ (ตารางที่ 2)
นอกจากนี้ ยังมีสารที่ก่อมะเร็งเบ็ดเตล็ดที่พบทั่วไปในอาหาร ของเคี้ยว บุหรี่ ยาสูบ และในสิ่งแวดล้อม อีกหลายชนิด ได้แก่
- สารอะเรไคดีน (arecaidin) และอะเรโคลีน (arecoline) ในผลหมากที่เคี้ยวกับปูนขาวและยาสูบทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก (ฟาริงซ์ ลาริงซ์และหลอดอาหาร)
- สารพวก PAH ในดินน้ำมันหรือเขม่าไฟที่เกิดจากการเผาบุหรี่ ทำให้เกิดมะเร็งของ ปอด กระเพาะอาหาร ช่องปาก ตับอ่อน และไตได้
- ตัวพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchix Viverriniจากปลา ปู หอย ที่นำมาเป็นอาหารดิบ ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับ 
โดยพบมากที่สุดในอีสาน เนื่องจากปลาร้าดิบมีพยาธิ และไข่พยาธิฝังตัวอยู่ น่าเสียใจที่ชาวอีสานยังไม่เลิกหรือเปลี่ยนพฤติกรรมและนิสัยการบริโภคซึ่งเป็นสิ่งยากมากกว่าหลายเท่า
- อะฟลาทอกซิน (aflatoxins) สารพิษจากเชื้อราสีเขียวหรือเหลืองที่ชื่อว่า Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus พบมากในถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กุ้งแห้ง เนื้อมะพร้าวและอาหารที่เก็บไว้นานๆ ในที่ๆ มีความชื้นสูงกว่า 14 % อะฟลาทอกซิน ถือว่าเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงที่สุด ทำให้เกิดมะเร็งในตับ สามารถยืนยันได้จากสัตว์ทดลองและการระบาดของมะเร็งในตับคน
- ไวรัสที่ทำให้เกิดตับอักเสบชนิดบี พบมากในหมู่คนไทย การติดเชื้อไวรัสนี้จะทำให้ตับอักเสบ เนื้อเยื่อตับบางส่วนเสียหาย หากได้รับสารก่อมะเร็งหรือสารทูเมอร์โปรโมเตอร์ผสมโรง จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ง่าย
- แอลกอฮอล์ในสุรา วิสกี้ เบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งหลาย ถือว่าเป็นสารทูเมอร์โปรโมเตอร์ ทำให้เกิดมะเร็งของช่องปาก ตับ และเต้านม
- สารไอโซโทปรังสี ก๊าซเรดอนและรังสีเอกซ์ โดยเฉพาะสารที่ให้กัมมันตภาพรังสี พวกเบตา และแกมมา โดยการสัมผัสภายนอกลำแสงของรังสีสามารถทะลุทะลวงผ่านเซลล์ของเนื้อเยื่ออ่อน หรือได้รับสารกัมมันตภาพรังสี เข้าไปในร่างกายโดยตรง จะทำให้เกิดโรคมะเร็งของปอด ผิวหนัง เม็ดเลือดขาวและอวัยวะอื่น ๆ ได้
ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพกับการเกิดโรคมะเร็งซึ่งมีสาเหตุจากสิ่งของหรือสารก่อมะเร็ง
อาชีพ
ชนิดหรือตำแหน่งของมะเร็ง
สิ่งหรือสารก่อมะเร็งที่เป็นสาเหตุ
ชาวนา,กลาสีเรือ
ผิวหนัง
แสงอัลตราไวโอเลต
คนงานเหมือนแร่ยูเรเนียม
นักรังสีวิทยา
ปอด
ผิวหนัง,ลูคีเมีย
กัมมันตภาพรังสี
รังสีเอกซ์
คนงานในโรงงานที่มีดินน้ำ
มันเขม่าควันไฟ ถ่านหิน
และน้ำมันแร่
ปอด,ผิวหนัง
โปลีซัยคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
คนงานในโรงงานผลิตสี
กระเพาะปัสสาวะ
2-แนพทิลแอมมีน
4-อะมิโนไบเฟนนิล
คนงานในโรงงานผลิตฉนวน
ความร้อน,ทาสีเรือ
ปอด,เยื่อหุ้มปอด
แร่ใยหินหรือแอสเบสทอส
คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้อง
กับโลหะหนัก
ปอด
ปอด,ไซนัส
โครเมต
ผงนิเกิล
คนงานที่เหมืองแร่
ผิวหนัง ปอด
สารหนู
คนงานในโรงงานผลิตเรซิน
ปอด
บิส (คลอโรเอทิลอีเธอร์
คนงานโรงงานผลิตพลาสติก
ตับชนิดแอนจิโอซาร์โคม่า
ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์
คนงานที่โรงงานผลิตแลค
เกอร์
ลูคีเมีย
เบนซีน
ช่างทำเฟอร์นิเจอร์
ไซนัสจมูก
ไอของตัวละลาย และผงฝุ่น
คนงานโรงงานผลิตยางและ
รองเท้า
กระเพาะปัสสาวะ ลูคีเมียไซนัสจมูกและทางเดินอาหาร
สารเคมีที่ใช้ผสมหลายชนิด
ตารางที่ 2 ยารักษาโรคอาจเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งในคนได้
ยา
ชนิดหรือตำแหน่งของมะเร็ง
ยาแก้ปวดที่มีฟีนาเซติน
กรวยไต ท่อจากไต ,กระเพาะเบา
อะซาไธโฮพรีน (Azathioprine)
ลิมโฟมา ผิวหนัง ตับ ถุงน้ำดี ,อื่น ๆ
คลอแรมบูซิล (Chlorambucil)
ลูคีเมีย
ซัยโคลฟอสฟามีด
กระเพาะปัสสาวะ ลูคีเมีย
ไดเอธีลสติลเบสตรอล (DES)
ปากมดลูก ช่องคลอด ,อัณฑะ
เมลฟาแลน (Melphalan)
เต้านม
8- เมธอกซีวอราเลน (8-Methoxypsoralen)
ลูคีเมีย
เอสโตรเจน และอนุพันธ์
ผิวหนังที่ได้รับรังสีอุลตราไวโอเลต
ยาคุมกำเนิดแบบกิน
มดลูก เต้านม ช่องคลอด อัณฑะ
ทรีโอซัลแฟน (Treosulphan)
ลูคีเมีย
การย้ายถิ่นฐานที่อยู่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งชนิดใหม่ได้ เพราะมีการเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมและชนิดของอาหารในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างที่ได้มีการศึกษารายงานไว้คือ กลุ่มของชาวญี่ปุ่นที่ได้อพยพ ย้ายถิ่นฐานจากเกาะญี่ปุ่นไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนียไปอยู่ที่อเมริกา ปรากฏว่าชนิดและอัตราของการเกิดโรคมะเร็งของเขาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในประเทศญี่ปุ่นชาวพื้นเมืองเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในอัตราสูงที่สุดเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ในลูกหลานของคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกากลับเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมมากกว่าชนิดอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงชนิดและอัตราการเกิดโรคมะเร็งเช่นนี้อธิบายได้ว่า อาหารและสิ่งแวดล้อมสำคัญมากต่อชนิดและอัตราการเกิดโรคมะเร็ง มิใช่เรื่องของชนชาติหรือพันธุกรรม อาหารญี่ปุ่นส่วนมากประกอบด้วยข้าว เต้าหู้ ปลา ผักดองและซีอิ้ว เป็นอาหารที่มี ไขมันน้อยแต่มีกากใยมากกว่าอาหารอเมริกาซึ่งมักจะเป็นขนมปัง มันฝรั่ง เนื้อวัว เนย นม ไข่ และสลัด ดังกล่าวถูกสนับสนุนโดยการทดลองในหนู พบว่าอาหารพวกไขมัน และเนื้อแต่มีผักน้อยไม่สมดุลทางโภชนาการ ย่อมเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมได้
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งจึงประกอบด้วยจึงประกอบด้วยสาเหตุหลายปัจจัย มีแบบแผนแตกต่างไปจากโรคอื่นๆ
1. โรคมะเร็งมิใช่โรคที่เกิดจากสารพิษอย่างเฉียบพลันแล้วมีอาการของโรคเกิดขึ้นทันที
2. มะเร็งมิใช่เชื้อที่จะถูกฆ่าหรือทำลายได้ง่ายด้วยยาปฏิชีวนะ ขบวนการเกิดโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปมีอาการเล็ก ๆ น้อยต่อมาระยะนานจึงมีพยาธิสภาพของโรคอย่างร้ายแรงที่มิสามารถแก้ไขเยียวยาได้ จนต้องมีวิธีการพิสดารแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ถูกคิดค้นออกมาเพื่อเป็นอาวุธต่อสู้โรคราย แต่ก็ไม่สามารถปราบโรคมะเร็งได้ราบคาบ
3. เมื่อตอนแรกเริ่มเป็นมะเร็งนั้นเรายังไม่มีวิธีใดจะบอกว่าเซลล์มะเร็งตัวแรกสุดนั้นเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดอวัยวะใด ผู้ป่วยก็ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ
4. เมื่อเซลล์มะเร็งแบ่งตัวตลอดเวลาจนมีจำนวนหนึ่งพันล้าน (10เซลล์ หรือก้อนเนื้องอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ซมผู้ป่วยจะแสดงอาการบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง เลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ ท้องอืดเป็นประจำ ฯลฯ แล้วแต่ชนิดของอวัยวะ
5. ถ้าเป็นก้อนเนื้องอกในบริเวณที่คลำได้หรือส่องมองเห็นได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษก็สามารถจะตรวจพบได้ หรืออาจตรวจสอบด้วยสารทูเมอร์มาร์คเกอร์ (tumor marker) ในเลือดและในชิ้นเนื้อที่เจาะหรือตัดออกมาศึกษาทางพยาธิวิทยา ต่อจากนี้การขยายตัวของก้อนเนื้องอกจะรวดเร็วหลายเท่าตัวกว่าในระยะที่เริ่มเกิดใหม่ ๆ จนมีผู้ป่วยเสียชีวิตเพราะไม่สามารถทนต่อการรุกรานของก้อนมะเร็งที่ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกายได้
 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น